กูปรี

กูปรี



               กูปรี หรือ โคไพร เป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า โดยจัดเป็นสัตว์กีบคู่ ลักษณะที่ตัวใหญ่ ขาใหญ่ ปลายหางเป็นพู่ขน ตัวผู้จะมีลำตัวขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ที่ขนาดความสูง 1.71-1.90 เมตร  ขนาดลำตัว 2.10-2.22 เมตร ทั้งนี้มีน้ำหนักประมาณ 700-900 กก. นอกจากนี้ตัวผู้จะมีเขาแหลมโค้งงอไปด้านหน้า และมีลักษณะที่เป็นพู่คล้ายกับเส้นไม้กวาดมีความแข็งแรงเมื่อยิ่งโตเต็มวัยจะมีลายเส้นที่เห็นได้ชัดเจนและยังมีถุงเท้าเช่นเดียวกับกระทิงบนขาทั้งสี่
กูปรี ตัวเมียจะมีขนที่เป็นสีเทา และมีขนาดตัวเล็กกว่าตัวผู้ มีเขาเช่นเดียวกันแต่จะตีวงแคบแล้วม้วนเข้าไปด้านบนซึ่งต่างจากตัวผู้จะไม่มีพู่ที่ปลายเขา เป็นเขาแบบกลวงไม่มีแตกกิ่ง โดยมีความยาวประมาณ 1 เมตร ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการรายงานว่าพบกูปรีในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย แม้ว่าในปัจจุบันหลายคนยังเชื่อว่ายังพอที่จะมีหลงเหลืออยู่ในชายแดนไทยกัมพูชาให้เห็นกันบ้างรวมถึงชายแดนระหว่างประเทศลาวตอนใต้เพราะจะได้ยินข่าวว่าพบสัตว์ที่มีลักษระคล้ายกับกูปรีบ่อยๆ
กูปรี มีอุปนิสัยของการรวมตัวอยู่ด้วยกันเป็นฝูงประมาณ 2-20 ตัว การหาอาหารจะเป็นการกินใบพืช ใบไม้ มีดินโป่งบ้างเป็นครั้งคราว และมักจะหากินในช่วงกลางคืนเพื่อเลี่ยงอันตราจากมนุษย์ ในการผสมพันธุ์จะเป็นช่วงราว ๆ เดือนเมษาและระยะเวลาของการตั้งท้องจะนาน 9 เดือน และตกลูกครั้งละตัว การอยู่อาศัยจะเป็นพื้นที่ป่าโปร่ง และเป็นป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแล้ง สำหรับกรูปีถูกจัดว่าเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของไทย และเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์และหาดูได้ยากมาก ปัจจุบันนี้คาดว่าเหลือกูปรีอยู่ราว ๆ  100-300 ตัวเท่านั้น
ปัจจัยที่ทำให้กูปรีของไทยนั้นมีจำนวนลดลงคือมีปัญหาเรื่องภาวะสงครามอินโดจีนซึ่งเป็นผลกระทบค่อนข้างมาก เพราะแหล่งที่อยู่อาศัยทำให้ได้รับผลจากภัยสงครามอย่างมาก และถูกฆ่าโดยไม่เจตนาและไม่สามารถหลบหลีกได้ อีกสาเหตุของการรุกล้ำผืนป่าซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยจากชาวบ้านที่เข้ามาทำการเกษตรกรรมและเกิดโรคระบาดจากสัตว์เลี้ยงไปยังกูปรี รวมถึงสัตว์เลี้ยงได้ลุกล้ำแหล่งอาหารของพวกมัน
และปัจจัยที่สำคัญคือการล่าสัตว์เพราะติดใจในรสชาติของเนื้ออร่อยและต้องการนำเขาไปขาย เพราะลักษณะเขาที่ต่างจากสัตว์ทั่วไปทำให้ได้ราคาดีจึงทำให้การล่ากูปรีจึงบเกิดเป็นการค้ามากขึ้นทำให้จำนวนของกูปรีลดลงแทบจะไม่มีให้เห็นแล้วในทุกวันนี้

ความคิดเห็น